การจัดการ โลจิสติกส์ และซัพพลายเชน
(Logistics and Supply Chain Management)
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน (Logistics and Supply Chain Management)
ชื่อปริญญา
บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ โลจิสติกส์ และซัพพลายเชน)
บธ.บ. (การจัดการ โลจิสติกส์ และซัพพลายเชน)
Bachelor of Business Administration (Logistics and Supply Chain Management)
B.B.A. (Logistics and Supply Chain Management)
แผนการเรียน/โครงสร้างหลักสูตร
4 ปี 126หน่วยกิต
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
หลักสูตร 4 ปี 283,400.-
แนะนำ
ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจประสบการแข่งขันที่รุนแรงมาก ดังนั้นการดำเนินธุรกิจจึงต้องแสวงหาวิธีการหรือกลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่องค์กร หรือเพื่อความอยู่รอดขององค์กรทางธุรกิจ โลจิสติกส์เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ช่วยในการวางแผน สนับสนุน ควบคุมการไหลเวียนของกิจกรรมต่าง ๆ เช่น สินค้าและบริการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการคลังสินค้า บริหารต้นทุน การขนส่งไปถึงจุดที่มีการใช้งาน หรือถึงมือผู้บริโภค
LSM เรียนเกี่ยวกับอะไร?
– ความรู้เบื้องต้นด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
– การจัดการสินค้าคงคลังและคลังสินค้า
– การจัดการขนส่ง
– การจัดการความเสี่ยงภัยและกฎหมายสำหรับโลจิสติกส์
– การจัดการการกระจายสินค้า
– การจัดการโซ่อุปทาน
– การจัดการธุรกิจการให้บริการโลจิสติกส์
– การจัดการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ
– การบรรจุภัณฑ์สำหรับการจัดการโลจิสติกส์
– เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
จุดเด่น
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยรังสิต ตั้งอยู่ใกล้กับนิคมอุตสาหกรรม ศูนย์กระจายสินค้า และสนามบิน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่จะผลิตบัณฑิตด้านการจัดการโลจิสติกส์เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิต การกระจายสินค้า และการขนส่ง รวมถึงสามารถใช้ทรัพยากรภายนอกและร่วมมือกับภาคเอกชน สนับสนุนให้บัณฑิตมีคุณภาพ โดยการศึกษาดูงาน หรือการฝึกงานวิชาสหกิจศึกษา ตลอดจนเชิญผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์สูงมาเป็นวิทยากรพิเศษ
จบสาขานี้ทำงานอะไร
– ระดับปฏิบัติการ เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ ฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ฝ่ายการขนส่ง
– ระดับบริหาร เช่น นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน นักวางแผนวัตถุดิบ การผลิต หรือการกระจายสินค้า และนักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ
– ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น นำเข้าและส่งออก ผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ ตัวแทนขนส่งทางบก, ทางทะเล หรือทางอากาศ
– รับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กรมประมง กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
– ประกอบกิจการธุรกิจส่วนตัวหรือที่ปรึกษาทางด้านการขนส่ง